เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2561 สอบมีนาคม 2562

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2561 สอบมีนาคม 2562

ข้อ 1 ( 3 )

ข้อ 2 ( 2 )

ข้อ 3 ( 4 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 2 )

ข้อ 6 ( 3 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 3 )

ข้อ 9 ( 1 )

ข้อ 10 ( 1 )

ข้อ 11 ( 4 )

ข้อ 12 ( 5 )

 

 

 

ข้อ 13 ( 2 )

ข้อ 14 ( 5 )

ข้อ 15 ( 5 )

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

ข้อสอบ

ข้อ 13) แพลงก์ตอนบลูม คือ ปรากฎการณ์ที่แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในน้ำมีธาตุอาหารสูงและมีสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญของแพลงก์ตอนพืช จึงมองเห็นน้ำเป็นสีต่างๆ ซึ่งแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนมากจะบดบังแสงอาทิตย์ จึงส่งผลกระทบต่อ การสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำอื่นๆ แม้ว่าแพลงก์ตอนพืช จำนวนมากนี้ จะตาย จึงถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ซึ่งต้องใช้แก๊สออกซิเจนปริมาณมาก ทำให้ปริมาณ แก๊สออกซิเจนในน้ำลดลง

ระบบนิเวศแหล่งน้ำแห่งหนึ่ง มีสายใยอาหารเป็นดังแผนภาพ

ถ้าระบบนิเวศแหล่งน้ำแห่งนี้เกิดแพลงก์ตอนบลูม จะส่งผลต่อองค์ประกอบของระบบนิเวศนี้อย่างไร
   1.   อาหารของแพลงก์ตอนสัตว์จะลดลง
   2.   จำนวนของสาหร่ายและหอยฝาเดียวจะลดลง
   3.   ในช่วงเวลากลางคืน ปริมาณแก๊สออกซิเจนในน้ำจะมากกว่าเวลากลางวัน
   4.   หากแพลงก์ตอนพืชสะสมสารพิษภายในเซลล์ หอยสองฝาจะสะสมสารพิษมากที่สุด
   5.   การถ่ายทอดพลังงานจากแพลงก์ตอนพืชไปยังหมึกมากกว่าแพลงก์ตอนพืชไปยังดาวทะเล

 

 

เฉลยคำตอบพร้อมคำอธิบาย

คำตอบข้อ 12 ) ตอบ  ( 2 ) จำนวนของสาหร่ายและหอยฝาเดียวจะลดลง

เหตุผล

       จำนวนของสาหร่ายและหอยฝาเดียว น่าจะลดลง เพราะ หอยฝาเดียว เป็น อาหารของหมึกและดาวทะเล ซึ่งหากเกิดแพลงก์ตอนบลูม หอยสองฝาซึ่งกินแพลงก์ตอนพืชจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชากรหอยสองฝาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ สิ่งมีชีวิตที่กินหอยสองฝา เป็นอาหารได้แก่ หมึก และ ดาวทะเล มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชากรของหมึก และดาวทะเล มีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อ หมึกและดาวทะเลเพิ่มสูงขึ้นจะมีความต้องการอาหารในปริมาณมากขึ้น ทำให้อัตราการล่าหอยฝาเดียวเพื่อเป็นอาหารของ หมึก และ ดาวทะเล เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น หอยฝาเดียว แนวโน้มที่จะลดจำนวนลง

      ในขณะเดียวกัน การเกิด แพลงก์ตอนบลูม จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เพราะแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนมากจะบดบังแสงอาทิตย์ จึงส่งผลกระทบต่อ การสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ รวมทั้งสาหร่ายด้วย เป็นผลให้สาหร่ายมีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลง

 
 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

[ ข้อ 1 ] / [ ข้อ 2 ] / [ ข้อ 3 ] / [ ข้อ 4 ]/ [ ข้อ 5 ]/ [ ข้อ 6 ]/ [ ข้อ 7 ]/ [ ข้อ 8 ]/ [ ข้อ 9 ]/

 

[ ข้อ 10 ]/ [ ข้อ 11 ]/ [ ข้อ 12 ] / [ ข้อ 13 ] / [ ข้อ 14 ] / [ ข้อ 15 ]

 
 
 
 

 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::